วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

LW741 เตรียมสอบ อ.สถาพร สระมาลีย์

                                                                                                                                TooK-Ka-Ta
เตรียมสอบอาจารย์สถาพร วิชา LW741
ประเด็นที่หนึ่ง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ  เสรีภาพ  และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 4 (จำไว้ว่าคุ้มครองทุกคนทุกเชื้อชาติที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทยค่ะ)
โดยหลัก บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียม
กัน 
                ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
                การเลือกปฎิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด  เชื้อชาติ  ภาษา  เพศ  อายุ  ความพิการ  สภาพทางกาย  หรือสุขภาพ  สถานะของบุคคล  ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม  ความเชื่อทางศาสนา  การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ ตามมาตรา 30 
(ข้อสอบจะถามในส่วนนี้โดยให้ปัญหาตุ๊กตาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง...................แล้วจะถามต่อว่าบุคคลที่ถูกเลือกปฏิบัตินั้นมีสิทธิตามใช้หลักประกันทางศาล ตาม.28 ว.2 หรือไม่)
แน่นอนตอบต้องฟังธงเลยว่า “บุคคลนั้นถูกละเมิดโดยอำนาจรัฐ”  เพราะถ้าไม่ถูกละเมิด ตามม.28 ว.2 แล้วก็จบไม่สามารถต่อได้ ซึ่งตามวิสัยของอ.จะอยากให้เราแสดงความรู้ที่เรียนมามากกว่านี้
ตอบว่า  โดยหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ  เสรีภาพ  และความเสมอภาคของบุคคลย่อม
ได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 4   คุ้มครองทุกคนทุกเชื้อชาติที่อยู่ในประเทศไทย
เนื่องจากเจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความแตกต่าง.....ตามมาตรา 30 เขาจึงเป็นบุคคลที่ซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพจากอำนาจรัฐ ที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้    และสามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ ตามมาตรา 28 วรรค 2
มาตรา 28 ว.2 ศาลดังกล่าวคือทุกศาลแล้วแต่คดีอยู่ในเขตอำนาจศาลใด แต่ส่วนมากจะเป็นศาลปกครอง  เพราะผู้ใช้อำนาจรัฐคือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครอง  ออกกฎหรือคำสั่งทางปกครองหรือการกระทำทางปกครองหรือสัญญาทางปกครอง    แล้วกระทบกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น ออกคำสั่งทางปกครองให้เจ้าหน้าที่เอาประกาศปิดหน้าวัดอิสลาม  มีข้อความห้ามคนที่นับถือศาสนาพุทธเข้าไปเที่ยวเยี่ยมชมในวัด   พอคนนับถือศาสนาพุทธจะเข้าไปก็ถูกเจ้าหน้าที่ห้ามไม่ให้เข้าไปและให้ชี้ดูประกาศที่ติดดังกล่าว    กรณีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง ตามม.9  พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542  บุคคลที่ถูกละเมิดนั้นสามารถใช้สิทธิทางศาลโดยฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้
สรุป    ม.4+ม.30+ม.28 ว.2+พรบ.จัดตั้งศาลปกครอง ม.9

ประเด็นที่สอง  คำถามจะถามว่าการใช้สิทธิเสรีภาพของนาย ก. (สมมติ) เป็นปฏิปักษ์ต่อ
รัฐธรรมนูญหรือไม่  (คำถามอาจจะถามถึงประเทศเยอรมัน  และให้เราเป็นศาลเยอรมันจะตัดสินว่าอย่างไร  เนื่องจากประเทศไทยนำกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิ  เสรีภาพ  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ของประเทศเยอรมันมาใช้   เราก็นำหลักกฎหมายไทยปรับใช้ค่ะเพราะมันก็คือหลักกฎหมายของเยอรมัน ^_^)
ตอบ   โดยหลักบุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิทางศาลและเสรีภาพของตนได้
เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น    ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ    หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง
                การกระทำที่เป็นกรณีปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การกระทำที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงมาตรา 1 หรือ มาตรา 2
                กรณีที่ 1. การกระทำที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐจากราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวแล้วเขาไปแบ่งแยก เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ
                กรณีที่ 2. กระทำการอันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามมาตรา 2 เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ
-                   สมมติว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งขึ้นปราศรัยบอกกล่าวแนะนำกับประชาชนว่าในการปกครอง
ส่วนภูมิภาคผู้ว่าราชการจังหวัดจะมาจากการเลือกตั้ง  ซึ่งตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่าผู้ว่าฯ นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยหลักต้องมาจากกระทรวงมหาดไทย   การเสนอแนวคิดนโยบายดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ   เพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ตามมาตรา 2
-                   ผู้สมัครรับเลือกตั้งกล่าวเสนอนโยบายของตนว่าถ้าได้เป็นแล้วจะได้มีการผลักดันร่าง
กฎหมายในเรื่องหนึ่งเรื่องใดต่อไปและรวมไปถึงแนะนำประชาชนอย่าไปเลือกตั้งเพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่มีผลเกิดผลทางการเมือง    คำว่า “อย่าไปเลือกตั้ง” เป็นการกระทำที่ถือว่ามีผลเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามมาตรา 2 เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่ 3. กรณีตามปัญหาศาลปกครองเห็นว่าไม่อยู่ในเขตอำนาจของตนจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาโดยตรงได้หรือไม่?
                แนวคำตอบ    โดยหลัก ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม  ศาลปกครอง  ศาลทหาร  หรือศาลอื่น  ต้องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ตามมาตรา 199
                กรณีตามปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว  เห็นว่า เป็นปัญหาเกี่ยวกับเขตอำนาจระหว่างศาลรัฐธรรมนูญ กับศาลปกครอง ตามมาตรา 245 (1) หรือ (2) จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 199 ไม่ได้  อีกทั้ง ศาลอื่น ตามมาตรา 199 นั้นหมายถึงศาลที่จะถูกจัดตั้งขึ้นในอนาคตเช่นศาลเลือกตั้ง  ศาลจราจร เป็นต้น ไม่ได้หมายความถึงศาลรัฐธรรมนูญ
                ดังนั้น จึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ตามมาตรา 199 พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดไม่ได้
                ทั้ง จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 214 ก็ไม่ได้ เพราะมาตรา 214 โดยหลัก กรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ  ที่มิใช่ศาลตั้งแต่สองศาลขึ้นไป  ให้ประธานรัฐสภา  นายกรัฐมนตรี  หรือองค์กรนั้น  เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
                ดังนั้น แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ  แต่มาตรา 214 บัญญัติว่า ต้องมิใช่ศาล  จึงส่งเรื่องพิพาทให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ตามมาตรา 214 ไม่ได้
                ข้าพเจ้าเห็นว่า ศาลปกครองต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา 

                ประเด็นที่ 4. คำถามจะเป็นในส่วนขั้นตอนการนำคดีฟ้องต่อศาลปกครอง  ต้องพิจารณาว่าคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น  หากไม่พอใจในคำสั่ง ต้องทำตามขั้นตอนคือต้องอุทธรณ์ต่อผู้ออกคำสั่งก่อนหรือไม่ (ตามม.42 ว.2 พรบ.จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542) 
ถ้าต้องอุทธรณ์ก่อนก็อุทธรณ์ภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่ง  แต่ถ้าในคำสั่งไม่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ก็สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 1 ปี นับแต่ออกคำสั่ง   หากอุทธรณ์แล้ว ก็มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ยืนยันคำสั่งเดิม ก็นำคดีฟ้องต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 9 พรบ.จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542 เพื่อให้ศาลปกครองมีคำบังคับเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น ตามมาตรา 72 พรบ.เดียวกัน)
แต่ คำสั่งของกกต. ที่เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสส. หรือ สว. ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง  โดยหลักคำสั่งทางปกครองและเป็นคำสั่งที่กกต.มีอำนาจใช้ดุลพินิจเบ็ดเสร็จ คือเป็นที่สุด  ตามมาตรา 239 แห่งรัฐธรรมนูญ   หากผู้ได้รับคำสั่งไม่พอใจอุทธรณ์ไม่ได้  
บุคคลซึ่งถูกเพิกถอนสิทธิตามคำสั่งของกกต. ดังกล่าวเป็นผู้ถูกละเมิดโดยการใช้อำนาจรัฐสามารถใช้สิทธิทางศาล ตามมาตรา 28 ว.2 ได้หรือไม่  
ตอบใช้สิทธิทางศาลได้   (แล้วฟ้องศาลไหน ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น